รับจดทะเบียน

 

เมื่อผู้ประกอบการมีแผนธุรกิจเป็นของตนเองแล้ว และพร้อมลงมือดำเนินธุรกิจ กระบวนการหรือขั้นตอนต่อไปที่ผู้ประกอบการใหม่ต้องดำเนินการ ประกอบด้วย ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์หรือกิจการโดยแยกตามประเภทนิติบุคคล การจดทะเบียนโรงงาน การดำเนินการเสียภาษีนิติบุคคล การดำเนินการด้านกฎหมายแรงงาน ประกันสังคม การขออนุญาตสิ่งอำนวยความสะดวก คลังสินค้า การรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมตามประเภทของสินค้า การจดทะเบียนกิจการเฉพาะ การขออนุญาตก่อสร้าง และการจดทะเบียนเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ผู้ประกอบการต้องมีความเข้าใจกระบวนการต่างๆเหล่านี้อย่างละเอียด เพื่อให้การดำเนินธุรกิจในระยะเริ่มแรกมีความผิดพลาดน้อยที่สุด

 

วัตถุประสงค์การจดทะเบียน

เรายินดีให้บริการงานจดทะเบียนทุกประเภทแก่ท่าน ด้วยทีมงานมืออาชีพ ดำเนินการจดทะเบียนทุกขั้นตอนถูกต้องตามวิธีการและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ และเรายินดีเสนองานบริการ การจดทะเบียนนิติบุคคล ที่จะทำให้คุณประหยัดทั้งเวลา และ ค่าใช้จ่าย ด้วยงานที่มีคุณภาพ เสร็จทันเวลาที่กำหนด ด้วยขั้นตอนที่เป็นระบบ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจดทะเบียน

  • ประหยัดเวลาของท่านในการดำเนินการยื่นจดทะเบียนธุรกิจ
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะเราคิดค่าบริการในราคายุติธรรม

 

บริการด้านการจดทะเบียน
จดทะเบียนบริษัท (Company Registration):

  • จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, คณะบุคคล, ห้างร้าน
  • จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น แก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท, กรรมการเข้าใหม่ - ลาออก, อำนาจกรรมการ, เพิ่มเติมวัตถุประสงค์, ย้ายสถานประกอบการ, เพิ่มสาขา, ลดสาขา เพิ่มทุน,ลดทุน ฯลฯ
  • จดทะเบียนเลิกบริษัท / ห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี
  • จดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า, สิทธิบัตร และอื่นๆ
  • ขอใบอนุญาตต่างๆ เช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการท่องเที่ยว, จำหน่ายสุราไทย - นอก, จำหน่ายบุหรี่ไทย - นอก
  • ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัท, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, คณะบุคคล, ห้างร้าน
  • ขอหนังสือรับรอง รวมทั้งคัดลอกเอกสารต่างๆ
  • ขึ้นทะเบียนประกันสังคมของนายจ้าง, ลูกจ้าง, และแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
  • ทำบัตรผู้จัดการกรมศุลกากร

 

วิธีการจดทะเบียนบริษัท กับสิ่งที่ควรรู้ ก่อนการจดทะเบียนบริษัท
รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ การประกอบธุรกิจ การค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จนำมาซึ่งผล ประโยชน์และกำไรสูงสุด

รูปแบบองค์กรธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท


      1 เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย)
             1.ห้างหุ้นส่วน
                 – ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
                 – ห้างหุ้นส่วนจำกัด
             2. บริษัทจำกัด
             3. บริษัทมหาชนจำกัด
             4. องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

     2 ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตามพรบ.ทะเบียนพาณิชย์)
             1.กิจการค้าเจ้าของคนเดียว
             2.ห้างหุ้นส่วนสามัญ

- คำถามที่ทุกคนถามบ่อยๆ หจก ต่างจาก บริษัท ตรงไหน และหลายๆ คนที่จะเริ่มประกอบธุรกิจ มักจะตั้งคำถามอยู่เสมอ และมักจะไม่ค่อยได้รับคำตอบที่โดนใจ ว่าจะเลือกแบบไหนดี แต่ในครั้งนี้ อาจแนะนำว่า หากท่านต้องการประกอบธุรกิจจริงๆ ต้องถามกับตัวเองว่าต้องการทำระยะสั้นหรือระยะยาว หากต้องการลองทำดู ก็จะแนะนำให้จดเป็นหจก. แต่ถ้าหากต้องการทำระยะยาวก็เปิดเป็นบริษัทฯ เหตุที่แนะนำเช่นนั้นก็เพราะ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะสูงกว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด

- จองชื่อบริษัท ในการจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท มักจะมีช้อจำกัดเนื่องจากมีการจดทะเบียนบริษัท มาก่อนหน้านี้แล้วหลายสิบปี ชื่อที่เราชอบมักจะซ้ำ ไม่ว่าจะพ้องเสียงอีก มันเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวในการจองชื่อบริษัท ซึง ยังจะมีข้อจำกัดในการจองชื่อบริษัท ตามคำแนะนำในการจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท ของกรมพัฒนาธุรกิจ อีกด้วย

- ตัวอย่าง การจดทะเบียนบริษัท หลังจากจองชื่อเพื่อจะจดทะเบียน แล้วระหว่างรอการทำตรายางเราก็มาพิมพ์แบบฟอร์มการจดทะเบียนบริษัท 

- การทำตรายางสำหรับจดทะเบียนบริษัท หลังจากจองชื่อเพื่อจะจดทะเบียน ได้แล้วก็ถึงเวลาต้องออกแบบตรายางเพื่อใช้ในการจดทะเบียน แต่การทำตรายางก็มีข้อกำหนดในการทำตรายาง ต้องศึกษาก่อนทำจะได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง

ระยะเวลาในการจดทะเบียนบริษัท ในปัจจุบันการจดทะเบียนบริษัท จะใช้ระยะเวลาเพียงวันเดียวหากเอกสารทุกอย่างถูกต้อง…

- สถานที่จดทะเบียนบริษัท ถ้าพิมพ์ชุดจดทะเบียนบริษัทเสร็จแล้วเราจะนำชุดคำขอจดทะเบียนบริษัทไปยื่นต่อนายทะเบียน ได้ที่ไหน นั้นเป็นคำถามที่หลายๆคนถามมา คำตอบคือ เราสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัทได้ทุกพื้นที่ทั่วไทยแล้ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าพิจราณาอนุมัติให้มีการยื่นข้ามเขตได้แล้ว หากท่านสะดวกที่ไหนก็สามารถยื่นได้ทุกๆสำนักงานพื้นที่ที่กรมพัฒนาธุรกิจตั้งอยู่

- ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท ทางกรมพัฒนาฯ ได้กำหนดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนต่างๆ ไว้เป็นตารางค่าธรรมเนียมไว้แล้ว แต่ครั้งนี้จะพูดถึงแค่ว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท จะเป็นเท่าไร


หากดูจากตารางค่าธรรมเนียมแล้วจะแบ่งออกมาเป็นค่าธรรมเนียมบริษัทได้ดังนี้

 

จดทะเบียนบริษัทจำกัด

 

บาท

1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ  
    1.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

500.-

    1.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

50.-

          (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
    1.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท

25,000.-

2. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจัดตั้งบริษัท  
    2.1 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ(นอกจากการเพิ่มทุน)

400.-

    2.2 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อเพิ่มทุน  
          (1) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มไม่เกิน 1,000,000 บาท

500.-

          (2) ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น

50.-

               (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
          (3) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มตั้งแต่ 50,000,000 บาท

25,000.-

3. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด  
    3.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท

5,000.-

    3.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

500.-

         (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
    3.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

4. จดทะเบียนควบบริษัทจำกัด

5,000.-

5. จดทะเบียนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ  
    ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด  
    5.1 ทุนจำนวนไม่เกิน 1,000,000 บาท

5,000.-

    5.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้

500.-

          (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
    5.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

6. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมบริษัท  
    6.1 จดทะเบียนมติพิเศษ (เพิ่มทุน/ลดทุน/ควบบริษัท)

400.-

    6.2 จดทะเบียนเพิ่มทุน  
          คิดตามทุนที่เพิ่มทุก 100,000 บาท

500.-

          (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)  
          เพิ่มทุนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป

250,000.-

    6.3 จดทะเบียนลดทุน

400.-

    6.4 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ

400.-

    6.5 จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับทุกข้อ

400.-

    6.6 จดทะเบียนกรรมการเข้าใหม่ คนละ

400.-

    6.7 จดทะเบียนกรรมการออก (ไม่กำหนดจำนวนคน)

400.-

    6.8 จดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการ

400.-

    6.9 จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา

400.-

    6.10 จดทะเบียนแก้ไขดวงตรา

400.-

    6.11 จดทะเบียนรายการอื่น ๆ ซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

400.-

7. จดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชี

400.-

8. จดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี

400.-

9. จดทะเบียนแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี

400.-

10. จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานผู้ชำระบัญชี

400.-

11. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

400.-

 

แต่ถ้าเราจะสรุป ค่าธรรมเนียมในการ จดทะเบียนบริษัท ทุนไม่เกิน 1,000,000 บาท แบบพื้นฐานได้ดังนี้

 

           ตั้งบริษัท 5,000
           ค่าบริคณห์สนธิ 500
           ค่าอากร 400
           ค่าคัดสำเนาเอกสาร 450
           ค่าบริการ+ตรายาง 3,650
              รวม 10,000

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 156,148